ประวัติความเป็นมา

    ประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น เขตทวีวัฒน า

เขตทวีวัฒนา มีพื้นที่ 50.219 ตารางกิโลเมตร ตั้งชื่อตามคลองทวีวัฒนา เดิมท้องที่เขตทวีวัฒนาอยู่ในการ ปกครองของอำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี  โดยส่วนหนึ่งของตำบลศาลาธรรมสพน์ เนื่องจากตำบลนี้มีอาณาเขต กว้างขวางและมีประชากรเพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงโอนพื้นที่ 7 หมู่บ้าน ทางทิศใต้ของตำบลมาจัดตั้งเป็นตำบล ทวีวัฒนา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500

จากนั้นได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครโดยเปลี่ยนเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและปรับเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครตามลำดับ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการเรียกชื่อตำบลและอำเภอเป็น “แขวง” และ “เขต” ตำบลทวีวัฒนาจึงเลี่ยนเป็นแขวงทวีวัฒนา อยู่ในพื้นที่เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

ต่อมาท้องที่แขวงทวีวัฒนาและแขวงศาลาธรรมสพน์ (รวมกับท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงบางระมาด แขวงบาง พรม และแขวงบางเชือกหนัง เฉพาะทางฟากตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก) ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเขตทวี วัฒนา กรุงเทพมหานคร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย มีผลบังคับใช้ 6 มีนาคม 2541

ปัจจุบัน เขตทวีวัฒนาแบ่งการปกครองออกเป็น 2 แขวง ได้แก่ แขวงทวีวัฒนา และแขวงศาลาธรรมสพน์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีลำคลองหลายสายไหลผ่าน ประชาชนในพื้นที่สามารถนำไปใช้ในการเกษตร โดยคำว่า “ทวีวัฒนา” เป็นชื่อคลองที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5  ใช้ขุดเชื่อมคลองมหาสวัสดิ์คลองภาษีเจริญ

คลองทวีวัฒนา หรือที่เรียกว่า คลองขวาง เป็นคลองที่พระบาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2421 มีความยาวระยะทาง 340 เส้น 4 วา 4 ศอก โดยขุดขึ้นตั้งแต่หลักสอง คลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ ตัดไปกลางทุ่งถึงตำบลศาลายา ทะลุคลองมหาสวัสดิ์ฝั่งใต้

การขุดคลองทวีวัฒนานั้น สืบเนื่องจากคำกราบบังคมทูลของเจ้าพระยาสุริยวงศ์ไวยวัฒน์ ว่าคลองมหา สวัสดิ์และคลองภาษีเจริญซึ่งเป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุด นั้นเกิดการตื้นเขิน เกรงว่าจะเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติยศ และประโยชน์ทางการค้าขายจึงควรขุดคลองขึ้นใหม่ เพื่อช่วยระบายน้ำให้เป็นการถาวรต่อไป

ชุมชนริมคลองทวีวัฒนา มีอาชีพดั้งเดิมคือ ทำนา ทำสวนผัก ทำสวนผลไม้ และทำนาบัว ปัจจุบันทำสวน กล้วยไม้เป็นส่วนมากซึ่งเป็นอาชีพหลัก สามารถส่งกล้วยไม้ออกทั้งในประเทศและต่างประเทศ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีเปิดคลองนี้ให้ประชาชนไปมา หาสู่กัน เมื่อวันศุกร์ เดือน 6 แรม 1 ปีขาล พุทธศักราช 2421 พระราชทานนามว่า “คลองทวีวัฒนา” ดังนั้นพื้น

ที่ดินดอนลุ่มระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำท่าจีนแห่งนี้ สามารถจะกักเก็บน้ำในคลองไว้ใช้ประโยชน์ในการ เพาะปลูกและคมมาคมได้ทั่งถึงกัน จึงนับได้ว่า คลองทวีวัฒนาเป็นแหล่งน้ำสำคัญของประชาชน ทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบันของพื้นที่เขตทวีวัฒนา

สถานีตำรวจนครบาลธรรมศาลา สังกัด กองบังคับการตำรวจนครบาล 7 กองบัญชาการตำรวจนครบาลตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2540 เดิมมีที่ทำการเลขที่ 420 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ เช่าอยู่อาศัย ปัจจุบัน มีอาคารที่ทำการที่เลขที่ 5 ถนนอุทยาน แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ  

ทิศเหนือ  จรดคลองมหาสวัสดิ์ ติดเขตสถานีตำรวจภูธร ตำบลมหาสวัสดิ์ และสถานีตำรวจภูธรตำบลปลายบางโดยเริ่มจากบริเวณที่ริมฝั่งคลองมหาสวัสดิ์ฝั่งใต้  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนนทบุรี  บรรจบกับริมฝั่งคลองทวีวัฒนา ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนครปฐมไปทางทิศตะวันออกเลียบไปตามริมฝั่งคลองมหาสวัสดิ์ฝั่งใต้จนบรรจบกับทางเท้า ด้านนอกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  340  ( บางบัวทอง-ตลิ่งชัน ) ฟากตะวันตก

ทิศใต้  จรดคลองบางพรมติดเขตสถานีตำรวจนครบาลศาลาแดงและสถานีตำรวจนครบาลบางเสาธงโดยเริ่มจากบริเวณที่ริมฝั่งคลองบางพรมฝั่งใต้  บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข340  ( บางบัวทอง-ตลิ่งชัน )  ฟากตะวันตก  ไปทางทิศตะวันตก  เลียบไปตามริมฝั่งคลองบางพรมฝั่งใต้ จนบรรจบกับริมฝั่งคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันตก  เลียบไปตามริมฝั่งคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันตกไปทางทิศเหนือ จนบรรจบกับแนวทางของทางเท้าด้านนอกของ ถนนทวีวัฒนาฟากเหนือ ไปทางทิศตะวันตกจนบรรจบกับเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างกรุงเทพมหานคร  กับจังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันออก   จรดถนนกาญจนาภิเษก  สถานีตำรวจนครบาลตลิ่งชันโดยเริ่มจากบริเวณที่ขอบทางเท้าด้านนอกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  340  ( บางบัวทอง-ตลิ่งชัน )ฟากตะวันตก  บรรจบกับริมคลองมหาสวัสดิ์ฝั่งใต้  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนนทบุรี  ไปทางทิศใต้  ตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  340(บางบัวทอง-ตลิ่งชัน ) ฟากตะวันตก  ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  338 ( ถนนสมเด็จพระราชชนนี )จนบรรจบกับริมฝั่งคลองบางพรมฝั่งใต

ทิศตะวันตก  จรดเขต  สถานีตำรวจภูธรอำเภอพุทธมณฑลโดยเริ่มจากบริเวณที่เส้นแบ่งเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนครปฐมบรรจบกับริมถนนทวีวัฒนาฟากเหนือ  ไปทางทิศเหนือ  ตามแนวเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนครปฐม  บรรจบกับริมฝั่งคลองมหาสวัสดิ์ฝั่งใต้ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนนทบุรี